วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ส่วนประกอบทั่วๆไป

การบูร

ชื่อเครื่องยา

การบูร

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

การกลั่นลำต้น ราก หรือใบของการบูร

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

การบูร

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

อบเชยญวน พรมเส็ง

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cinnamomum camphora (L.) Presl.

ชื่อพ้อง

Camphora officinarum Nees, Laurus camphora L.

ชื่อวงศ์

Lauraceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           เป็นผลึกที่แทรกอยู่ในเนื้อไม้ของต้นการบูร ที่เกิดอยู่ทั่วไปทั้งต้น  มักจะอยู่ตามรอยแตกของเนื้อไม้  มีมากที่สุดในแก่นของรากรองลงมาที่แก่นของต้น  ส่วนที่อยู่ใกล้โคนต้นจะมีการบูรมากกว่าส่วนที่อยู่สูงขึ้นมา  ในใบและยอดอ่อนมีการบูรอยู่น้อย  ในใบอ่อนจะมีน้อยกว่าใบแก่ ผงการบูรเป็นเกล็ดกลมเล็ก  ๆ  สีขาวแห้ง  อาจจับกันเป็นก้อนร่วน ๆ  แตกง่าย  ทิ้งไว้ในอากาศ  จะระเหิดไปหมด มีรสร้อนปร่าเมา

เครื่องยา การบูร

 

เครื่องยา การบูร

 

เครื่องยา การบูร

 

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล

สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: “การบูร”  มีรสร้อนปร่าเมา ใช้ทาถูนวดแก้ปวด แก้เคล็ดบวม ขัดยอก แพลง แก้กระตุก แก้ปวดข้อ แก้ปวดเส้นประสาท แก้รอยผิวหนังแตก แก้พิษแมลงต่อย และโรคผิวหนังเรื้อรัง เป็นยาระงับเชื้ออย่างอ่อน ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้ไข้หวัด และขับลม บำรุงธาตุ บำรุงกำหนัด ยากระตุ้นหัวใจ บำรุงหัวใจ ใช้เป็นส่วนผสมในยาหอมต่างๆ เช่น ยาหอมเทพจิตร เป็นยาชาเฉพาะที่ เป็นยาระงับประสาท แก้อาการชักบางประเภท ใช้การบูร 1-2 เกรน แก้ปวดขัดตามเส้นประสาท ข้อบวมเป็นพิษ แก้เคล็ดบวม เส้นสะดุ้ง กระตุก ขัดยอกแพลง แก้ปวดท้อง ท้องร่วง ขับน้ำเหลือง แก้เลือดลม บำรุงกำหนัด ขับเหงื่อ ขับเสมะหะ บำรุงธาตุ แก้โรคตา กระจายลม ขับผายลม นำมาผสมเป็นขี้ผึ้ง เป็นยาร้อน ใช้ทาแก้เพื่อถอนพิษอักเสบเรื้อรัง ปวดยอกตามกล้ามเนื้อ สะบักจม ทรวงอก ปวดร้าวตามเส้นเอ็น โรคปวดผิวหนัง รอยผิวแตกในช่วงฤดูหนาว แก้พิษสัตว์กัดต่อย วางในห้องหรือตู้เสื้อผ้าไล่ยุงและแมลง

แหล่งที่มา:

http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=19

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น