วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

พิมเสน

พิมเสน

ชื่อเครื่องยา

พิมเสน

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

พิมเสนเกล็ด พิมเสนตรังกานู พรมเสน

ได้จาก

สารสกัดจากเนื้อไม้, ใบ

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

พืชสกุล Dryobalanops

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Dryobalanops aromatica Gaertn. (วงศ์ Dipterocarpaceae), หนาดหลวง Blumea balsamifera DC. (วงศ์ Compositae)

ชื่อพ้อง

ชื่อวงศ์

Dipterocarpaceae, Compositae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           พิมเสนเป็นเกล็ดเล็กๆ สีขาวขุ่น เนื้อแน่นกว่าการบูร ระเหิดได้ช้ากว่าการบูร ติดไฟให้แสงจ้าและมีควันมาก ไม่มีขี้เถ้า พิมเสนบริสุทธิ์จะเป็นผลึกรูปแผ่นหกเหลี่ยม มีจุดหลอมเหลว 208 องศาเซลเซียส ละลายได้ยากในน้ำ ละลายได้ดีในตัวทำละลายชนิดขั้วต่ำ พิมเสนมีกลิ่นหอมเย็น ฉุน รสหอม เย็นปากคอ สมัยก่อนใส่ในหมากพลูเคี้ยว
 

เครื่องยา พิมเสน

 

เครื่องยา พิมเสน

 

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล
 
สรรพคุณ:
           ตำรายาแผนโบราณ: ใช้พิมเสนเป็นยาขับเหงื่อ ขับเสมหะ กระตุ้นการหายใจ กระตุ้นสมอง บำรุงหัวใจ ใช้เป็นยาระงับความกระวนกระวาย ทำให้ง่วงซึม แก้ลมวิงเวียน หน้ามืด หัวใจอ่อน บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่น ทำให้เรอ ขับผายลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง แก้บาดแผลสด แผลเรื้อรัง แผลกามโรค แผลเนื้อร้าย ผสมในตำรับยาหอม เช่น ยาหอมเทพจิตร ยาหอมนวโกฐ มีสรรพคุณโดยรวมคือแก้ลมวิงเวียน หน้ามืดตาลาย
           การกลั่นใบและยอดอ่อนของหนาดด้วยไอน้ำ จะได้พิมเสนตกผลึกออกมา นำมาทำเป็นยากิน แก้ปวดท้อง ท้องร่วง หรือใช้ขับลม ใช้ภายนอกเป็นผงใส่บาดแผล แก้แผลอักเสบ แก้กลากเกลื้อน และแผลฟกช้ำ
           ตำราพระโอสถพระนารายณ์: ระบุ “ตำรับยาทรงนัตถุ์”  เข้าเครื่องยา 17 สิ่ง ใช้ปริมาณเท่าๆกัน รวมทั้ง พิมเสนด้วย ผสมกัน บดเป็นผงละเอียด ใช้นัตถุ์แก้ลมทั้งหลาย ตลอดจนโรคที่เกิดในศีรษะ ตา และจมูก อีกขนานหนึ่งเข้าเครื่องยา 15 สิ่ง รวมทั้งพิมเสนด้วย บดเป็นผงละเอียด ห่อผ้าบาง ทำเป็นยาดม แก้ปวดหัว วิงเวียน แก้สลบ แก้ริดสีดวงจมูก คอ และตา นอกจากนี้พิมเสนยังใช้เป็นส่วนผสมใน “ตำรับยาสีผึ้งบี้พระเส้น” ใช้ถูนวดเส้นที่แข็งให้หย่อนได้ และในตำรับ “สีผึ้งขาวแก้พิษแสบร้อนให้เย็น

แหล่งที่มา:

http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=93

เมนทอล


-เมนทอล - เป็นสารสกัดจากน้ำมันสะระแหน่ (peppermint oil) ซึ่งได้มาจากพืช Mentha piperita ใช้เป็นยาภายนอกเกี่ยวกับการลดอาการปวดเมื่อย ฆ่าเชื้อ และใช้เป็นยาขับลม 

พิมเสน ไม่ใช่ การบูรู
พิมเสน เป็นชื่อของต้นพืช มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pogostemon calslin (Blanco) Benth. ในวงศ์ Labiatae 

ส่วนประกอบทั่วๆไป

การบูร

ชื่อเครื่องยา

การบูร

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

การกลั่นลำต้น ราก หรือใบของการบูร

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

การบูร

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

อบเชยญวน พรมเส็ง

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cinnamomum camphora (L.) Presl.

ชื่อพ้อง

Camphora officinarum Nees, Laurus camphora L.

ชื่อวงศ์

Lauraceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           เป็นผลึกที่แทรกอยู่ในเนื้อไม้ของต้นการบูร ที่เกิดอยู่ทั่วไปทั้งต้น  มักจะอยู่ตามรอยแตกของเนื้อไม้  มีมากที่สุดในแก่นของรากรองลงมาที่แก่นของต้น  ส่วนที่อยู่ใกล้โคนต้นจะมีการบูรมากกว่าส่วนที่อยู่สูงขึ้นมา  ในใบและยอดอ่อนมีการบูรอยู่น้อย  ในใบอ่อนจะมีน้อยกว่าใบแก่ ผงการบูรเป็นเกล็ดกลมเล็ก  ๆ  สีขาวแห้ง  อาจจับกันเป็นก้อนร่วน ๆ  แตกง่าย  ทิ้งไว้ในอากาศ  จะระเหิดไปหมด มีรสร้อนปร่าเมา

เครื่องยา การบูร

 

เครื่องยา การบูร

 

เครื่องยา การบูร

 

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล

สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: “การบูร”  มีรสร้อนปร่าเมา ใช้ทาถูนวดแก้ปวด แก้เคล็ดบวม ขัดยอก แพลง แก้กระตุก แก้ปวดข้อ แก้ปวดเส้นประสาท แก้รอยผิวหนังแตก แก้พิษแมลงต่อย และโรคผิวหนังเรื้อรัง เป็นยาระงับเชื้ออย่างอ่อน ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้ไข้หวัด และขับลม บำรุงธาตุ บำรุงกำหนัด ยากระตุ้นหัวใจ บำรุงหัวใจ ใช้เป็นส่วนผสมในยาหอมต่างๆ เช่น ยาหอมเทพจิตร เป็นยาชาเฉพาะที่ เป็นยาระงับประสาท แก้อาการชักบางประเภท ใช้การบูร 1-2 เกรน แก้ปวดขัดตามเส้นประสาท ข้อบวมเป็นพิษ แก้เคล็ดบวม เส้นสะดุ้ง กระตุก ขัดยอกแพลง แก้ปวดท้อง ท้องร่วง ขับน้ำเหลือง แก้เลือดลม บำรุงกำหนัด ขับเหงื่อ ขับเสมะหะ บำรุงธาตุ แก้โรคตา กระจายลม ขับผายลม นำมาผสมเป็นขี้ผึ้ง เป็นยาร้อน ใช้ทาแก้เพื่อถอนพิษอักเสบเรื้อรัง ปวดยอกตามกล้ามเนื้อ สะบักจม ทรวงอก ปวดร้าวตามเส้นเอ็น โรคปวดผิวหนัง รอยผิวแตกในช่วงฤดูหนาว แก้พิษสัตว์กัดต่อย วางในห้องหรือตู้เสื้อผ้าไล่ยุงและแมลง

แหล่งที่มา:

http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=19

โกฐหัวบัว

โกฐหัวบัว

ชื่อเครื่องยา

โกฐหัวบัว

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

เหง้าแห้ง

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

โกฐหัวบัว

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Ligusticum sinense Oliv. cv.Chuanxiong Hort

ชื่อพ้อง

Ligusticum chuanxiong Hort, Ligusticum wallichii auct.non Franch.

ชื่อวงศ์

Umbelliferae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           เหง้าหนา ค่อนข้างกลม ข้อป่อง ปล้องสั้น ตัดเอารากแขนงออกหมด จะได้เหง้ารูปคล้ายกำปั้น ผิวตะปุ่มตะป่ำไม่สม่ำเสมอ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-7 เซนติเมตร ผิวนอกสีน้ำตาลอมเหลือง สาก เหี่ยวย่น เนื้อแน่น หักยาก รอยหักสีขาวอมเหลืองหรือสีเหลืองอมเทา มีท่อน้ำมันสีน้ำตาลอมเหลืองกระจายอยู่ทั่วไป มีกลิ่นหอมรุนแรง ฉุน รสขม มัน แต่จะหวานภายหลัง และชาเล็กน้อย
 

เครื่องยา โกฐหัวบัว

 

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ปริมาณความชื้นไม่เกิน 10% w/w  ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 15% w/w  ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกิน 10% w/w  ปริมาณสารสกัดเอทานอล ไม่น้อยกว่า 9% w/w  

สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: เหง้า แก้ลมในกองริดสีดวง กระจายลมทั้งปวง (หมายถึงลมที่คั่งอยู่ในลำไส้เป็นตอนๆทำให้ผายออกมา) ขับลม แก้ปวดศีรษะ ปวดข้อ ปวดกระดูก จีนใช้โกฐหัวบัวเป็นยาแก้หวัด แก้ปวดศีรษะ  แก้โรคโลหิตจาง แก้ปวดประจำเดือน แก้ประจำเดือนมาไม่ปรกติ ปวดเจ็บต่างๆรวมทั้งปวดฟัน อาเจียนเป็นเลือด ไอ วัณโรค โรคเข้าข้อ ตกเลือด
           นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5)    ปรากฏการใช้โกฐหัวบัวในยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ”ยาหอมเทพจิตร” และตำรับ ”ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของโกฐหัวบัวอยู่ในพิกัดโกฐทั้ง 9 ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง
           โกฐหัวบัวเป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในตำรับยาแผนโบราณของไทยหลายตำรับ พืชชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดแถบมนฑลเสฉวนของประเทศจีน และได้มีการนำมาใช้ในเครื่องยาไทย ที่เรียกว่า “พิกัดโกฐ” โกฐหัวบัวจัดอยู่ใน โกฐทั้งห้า(เบญจโกฐ)สรรพคุณโดยรวม ของยาที่ใช้ในพิกัดโกฐ คือ แก้ไข้ แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ แก้หืดไอ แก้หอบ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง ขับลม แก้สะอึก บำรุงเลือด บำรุงกระดูก
           เครื่องยา“พิกัดโกฐ” ประกอบด้วย “พิกัดโกฐทั้ง 5” ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลำพา มีสรรพคุณแก้ไข้เพื่อเสมหะ หืดไอ แก้โรคปอด โรคในปากคอ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต “พิกัดโกฐทั้ง 7” (มีโกฐกระดูก และโกฐก้านพร้าว เพิ่มเข้ามา) สรรพคุณ แก้ไข้จับสั่น แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคในปอด แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบ แก้สะอึก “พิกัดโกฐทั้ง 9”  (มีโกฐพุงปลา และโกฐชฎามังษี เพิ่มเข้ามา) สรรพคุณแก้ไข้จับ แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคปอด แก้โรคในปากคอ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบ แก้สะอึก บำรุงกระดูก แก้ไข้ในกองธาตุอติสาร แก้ไส้ด้วนไส้ลาม ขับระดูร้าย
           ตำรายาไทย: มีการใช้โกฐหัวบัวใน “พิกัดจตุวาตะผล” คือการจำกัดจำนวนตัวยาแก้ลม ประกอบด้วยผล 4 อย่าง คือ เหง้าขิงแห้ง กระลำพัก อบเชยเทศ และโกฐหัวบัว มีสรรพคุณแก้ไข้ แก้พรรดึก แก้ตรีสมุฏฐาน ขับผายลม บำรุงธาตุ แก้ลมกองริดสีดวง
           ตำราพระโอสถพระนารายณ์: ตำรับ “มโหสถธิจันทน์” มีส่วนประกอบรวม 16 สิ่ง รวมทั้งโกฐหัวบัวด้วย มีสรรพคุณแก้ไข้ทุกชนิด ตำรับ “ยาทรงนัตถุ์” ขนานหนึ่งประกอบด้วยสมุนไพร 15 ชนิด รวมทั้งโกฐหัวบัวด้วย โดยนำตัวยาทั้งหมดบดเป็นผงละเอียดรวมกัน ใช้สำหรับนัตถุ์ ใช้ดมแก้ปวดหัว แก้วิงเวียน แก้สลบ แก้ริดสีดวงจมูก คอ และตา

แหล่งที่มา:http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=33

พริกไทยดำ


         ประโยชน์ของพริกไทยดำที่ไม่ได้มีขีดจำกัดอยู่แค่ในห้องครัว วันนี้เราจะนำพริกไทยดำมารักษาสุขภาพกันค่ะ

          พริกไทยดำมีรสจัดจ้านและมีประโยชน์ในตัวเองที่ไม่ได้น้อยหน้าสม­­ุนไพรไทยชนิดอื่น ๆ สักนิด โดยประโยชน์ของพริกไทยดำที่เราคุ้นเคยคงเป็นเรื่องของการช่วยดั­­บกลิ่นคาวของอาหาร ช่วยปรุงรสชาติอาหารให้เผ็ดร้อนมากขึ้น และนั่นก็เป็นประโยชน์ที่ส่งผลมาถึงสุขภาพของเราอยู่แล้วนะคะ ทว่าReader’s digest ยังช่วยไกด์ประโยชน์ของพริกไทยดำที่ใครหลายคนอาจยังไม่เคยรู้เพ­­ิ่มมาอีก 6 ข้อด้วยกันตามนี้

 1. บรรเทาอาการไอมีเสมหะด้วยชาพริกไทยดำ

          การแพทย์ชนบทของอังกฤษและแพทย์แผนจีนใช้ชาพริกไทยดำผสมน้ำผึ้งบ­­รรเทาอาการไอแบบมีเสมหะมาอย่างยาวนานแล้ว เนื่องจากพริกไทยดำมีรสเผ็ดร้อนจึงสามารถละลายเสมหะที่ติดอยู่ใ­­นลำคอให้ทางเดินหายใจสะดวกขึ้นได้ ส่วนน้ำผึ้งก็มีสรรพคุณคล้ายยาปฏิชีวนะจากธรรมชาติ กำจัดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียอย่างหมดจด อาการไอแถมเสมหะของเราจึงเบาบางลงเพียงแค่ดื่มชาพริกไทยดำผสมน้­­ำผึ้งอุ่น ๆ สักแก้ว

 2. ช่วยให้เลิกบุหรี่ได้สำเร็จ

         ผลการศึกษาที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Alternative and Complementary Medicine เมื่อปี 2013 พบว่า น้ำมันสกัดจากพริกไทยดำสามารถลดความอยากสูบบุหรี่ของคนที่ตั้งใ­­จจะเลิกบุหรี่ได้ชะงัด ซึ่งก็อาจจะเป็นเพราะว่ากลิ่นเผ็ดร้อนของพริกไทยดำที่ถูกสูดผ่า­­นหลอดลมจะคล้ายความรู้สึกตอนที่สูบบุหรี่เปี๊ยบเลยเชียว ดังนั้นใครอยากเลิกบุหรี่ก็ลองหาน้ำมันสกัดจากพริกไทยดำมาชุบสำ­­ลีแล้วดมดูสิ

 

 3. บรรเทาอาการคัดจมูก

          พริกไทยดำถือว่าเป็นยาบรรเทาอาการคัดจมูกที่ธรรมชาติส่งมาให้เล­­ยล่ะค่ะ เพราะว่าในพริกไทยดำจะมีสารเคมีตัวหนึ่งซึ่งสามารถทำให้เยื่อหุ­­้มเซลล์ในจมูกระคายเคืองจนต้องไล่น้ำมูกออกมาโดยเร็ว ฉะนั้นจมูกก็จะโล่งมากขึ้น โดยการใช้พริกไทยดำเพื่อบรรเทาอาการคัดจมูกให้ใช้น้ำมันสกัดจาก­­พริกไทยดำ 3 หยด นำไปต้มในน้ำ 1 ถ้วยตวง แล้วผสมน้ำมันยูคาลิปตัสลงไปเล็กน้อย ต้มจนไอร้อนพุ่งตัวออกมาแล้วจึงนำน้ำต้มนั้นมาสูดดมเพื่อบรรเทา­­อาการได้เลย

 4. รักษาอาการเคล็ดขัดยอก

          อาการเคล็ดขัดยอกจากการออกกำลังกายหรืออุบัติเหตุที่ทำให้คุณรู­­้สึกเจ็บปวดบริเวณกล้ามเนื้อ สามารถบรรเทาได้โดยนำน้ำมันสกัดจากพริกไทยดำ 2 หยด ผสมกับน้ำมันสกัดจากโรสแมรี่ ประมาณ 4 หยด เข้าด้วยกัน (คุณสามารถผสมน้ำมันสกัดจากขิงแทนน้ำมันสกัดจากโรสแมรี่ได้นะคะ) แล้วนำมานวดบริเวณที่เคล็ดขัดยอกเบา ๆ ฤทธิ์ร้อนของพริกไทยดำจะซึมเข้าสู่กล้ามเนื้อและช่วยคลายกล้ามเ­­นื้อที่หดเกร็งจนเกิดอาการเคล็ดขัดยอก เรียกว่าใช้ได้ดีไม่แพ้ยาแก้เคล็ดขัดยอกราคาแพง ๆ เลยล่ะ


 

 5. ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยได้

          หากรู้สึกแน่นท้อง อาหารไม่ย่อย หรือเกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำ ลองเติมเมนูพริกไทยดำลงในมื้ออาหารของคุณสิคะ พริกไทยดำจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งกรดไฮโดรคลอริก ซึ่งเป็นกรดในช่องท้องที่มีหน้าที่ปรับสมดุลการย่อยของอาหาร ทำให้ท้องไส้ทำงานเป็นปกติมากขึ้น


ดอกจันทร์เทศ

ดอกจันทน์

ชื่อเครื่องยา

ดอกจันทน์

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ดอกจันทน์เทศ จันทน์ปาน

ได้จาก

รกหุ้มเมล็ด

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

จันทน์เทศ (nutmeg)

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ดอกจันทน์ จันทน์บ้าน

ชื่อวิทยาศาสตร์

Myristica fragrans Houtt.

ชื่อพ้อง

Myristica officinalis L.f.

ชื่อวงศ์

Myristicaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ดอกจันทน์ (mace) คือส่วนเยื่อหุ้มเมล็ด  ลักษณะเป็นริ้วสีแดงจัด ดูเหมือนร่างแห เป็นแผ่นบางมีหลายแฉกหุ้มเมล็ด โดยจะรัดติดแน่นอยู่กับเมล็ด เมื่อนำมาแกะแยกออกจากเมล็ด  รกที่แยกออกมาใหม่ๆจะมีสีแดงสด  เมื่อทำให้แห้งสีของรกจะเปลี่ยนจากสีแดงสดเป็นสีเหลืองอ่อนหรือสีเนื้อ  และเปราะ  ผิวเรียบ  ขนาดความยาว 3-5 เซนติเมตร  ความกว้าง 1-3 เซนติเมตร  ความหนา 0.5-1 เซนติเมตร  มีกลิ่นหอม  รสขม ฝาด เผ็ดร้อน
 

เครื่องยา ดอกจันทน์

 

เครื่องยา ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด) และ ลูกจันทน์ (เมล็ด)

 

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล
 
สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: มีสรรพคุณบำรุงโลหิต  บำรุงธาตุ  ขับลม แก้ปวดมดลูก แก้ท้องร่วง บำรุงกำลัง บำรุงผิวเนื้อให้เจริญ น้ำมันระเหยง่ายใช้เป็นส่วนผสมของขี้ผึ้งที่ใช้ทาระงับความปวด ใช้ขับประจำเดือน  ทำให้แท้ง  ทำให้ประสาทหลอน  ประเทศอินโดนีเซียใช้บำรุงธาตุ  แก้ปวดข้อ  กระดูก
           ตำรับเภสัชกรรมล้านนา: ใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยามะเร็งครุด และยาเจ็บหัว
           ยาพื้นบ้านของขาวตะวันตกและตะวันออก: ใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร แก้คลื่นไส้ บำบัดโรคมะเร็ง
           ตำรายาไทย: ปรากฏการใช้จันทน์เทศใน “พิกัดตรีพิษจักร” คือการจำกัดจำนวนตัวยาที่มีรสซึมซาบไวดังกงจักร มี 3 อย่างคือ ผลจันทน์เทศ ผลผักชีล้อม และกานพลู สรรพคุณแก้ลม แก้พิษเลือด แก้ธาตุพิการ บำรุงโลหิต “พิกัดตรีคันธวาต” คือการจำกัดจำนวนตัวยาที่มีกลิ่นหอมแก้ลม 3 อย่าง มี ผลจันทน์เทศ ผลเร่วใหญ่ และกานพลู สรรพคุณแก้ธาตุพิการ แก้ไข้อันเกิดแต่ดี แก้จุกเสียด
           นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5)    ปรากฏการใช้ดอกจันทน์ ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย รวม 3 ตำรับ คือ
                1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ”ยาหอมเทพจิตร” และตำรับ ”ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของดอกจันทน์ ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง
                2. ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ “ยาธาตุบรรจบ” มีส่วนประกอบของดอกจันทน์ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณ บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           1.ขับลม
                ใช้ดอกจันทน์(รก) 4 อัน บดเป็นผงละเอียด ชงน้ำดื่มครั้งเดียว รับประทานวันละ 2 ครั้ง 2-3 วัน ติดต่อกัน แก้อาการท้องอืด เฟ้อ ขับลม
           2.แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ที่เกิดจากธาตุไม่ปกติ
                ใช้ดอกจันทน์(รก) 3-5 อัน ต้มกับน้ำพอประมาณ เคี่ยวให้เหลือ 1 ใน 3 เอาน้ำดื่ม

แหล่งที่มา:

http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=55

กานพลู

กานพลู สมุนไพรที่มีส่วนช่วยฆ่าเชื้อ แก้ปัญหาท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย แถมยังแก้ปวดฟัน ว่าแล้วก็ไปรู้จักสมุนไพรชนิดนี้กันสักหน่อย

          กานพลูเป็นพืชสมุนไพรกลุ่มเครื่องเทศที่มีการบันทึกการใช้ประโยชน์มายาวนานตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณ เป็นหนึ่งในเครื่องยาที่ใช้ทำมัมมี่ เป็นหนึ่งในเครื่องเทศที่ทรงอิทธิพลในยุคของการล่าอาณานิคม คนเอเชียใช้การพลูปรุงยารักษาโรค ชาติตะวันตกยังใช้ในเรื่องการแต่งกลิ่นอาหารและเครื่องสำอางมากมาย

          กานพลู หรือ Clove หรือคนภาคเหนือเรียก จันจี่ วงศ์ MYRTACEAE มีชื่อวิทยาศาสตร์ Eugenia caryophyllus  Bullock&Harrison. เป็นพืชที่ชอบอากาศชื้น เป็นพืชพื้นเมืองของฟิลิปินส์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ส่วนที่ใช้เป็นยาคือดอกตูมที่แก่จัด หมอยาจะเก็บดอกช่วงนี้มาตากแห้งเก็บไว้ใช้ ดอกกานพลูที่จำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไปมักเป็นดอกที่มีการกลั่นเอาน้ำมันหอมระเหยออกไปก่อนแล้ว     

ในบันทึกตำราสรรพคุณสมุนไพรยังกล่าวถึงสรรพคุณส่วนอื่น คือ 

          เถา แก้หืด 

          เปลือกต้น แก้ปวดท้อง แก้ลม  คุมธาตุ

          ใบ แก้สะอึก แก้ปวดมวน ดอก แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย แก้ท้องขึ้น ขับลมในลำไส้ แก้ลม แก้เหน็บชา แก้พิษเลือด น้ำเหลืองและน้ำคาวปลา แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ  ฟอกโลหิต ขับเสมหะ แก้อุจจาระให้ปกติ แก้รัตตะปิตตะโรค แก้หืด กระทำให้อาหารงวด แก้ไอ ระงับกระตุก แก้ปากเหม็น แก้เลือดออกตามไรฟัน ดับกลิ่นเหล้า แก้ปวดฟัน แก้รำมะนาด กระจายลม กระจายเสมหะอันข้น
    
          น้ำมัน ขับลม แก้ท้องขึ้น แก้ปวดท้อง ท้องร่วง แก้ไอ  ฆ่าเชื้อโรค แก้ชาปลายมือปลายเท้า แก้โรคลมระงับปวด  ระงับอาการปวดฟัน ทำให้ผิวหนังชา ระงับกระตุก 
 
          ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แก้ปวดฟัน แก้รำมะนาด แก้ปากเหม็น ดับกลิ่นสุรา แก้เสมหะอันข้น แก้เสมหะอันเกิดในโลหิตและดี แก้รัตตะปิตตะโรค กระทำให้อาหารงวด ช่วยย่อยอาหาร ช่วยให้เจริญอาหาร ลดอาการเกร็งของระบบทางเดินอาหาร แก้ปวดหัว แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ปวดตามข้อรูมาติสม์  แก้ท้องขึ้น อืดเฟ้อ เจริญไฟธาตุ บำรุงธาตุ รักษาดีซ่าน แก้หืด แก้ลม แก้ปวดท้อง แก้เหน็บชา ทำให้อุจจาระเป็นปกติ แก้พิษเลือด แก้พิษน้ำเหลือง ขับน้ำคาวปลา แก้มวนในลำไส้ แก้มวนในลำไส้

      ในตำรับยาไทยมีการใช้กานพลูหลายตำรับ เฉพาะยาสมุนไพรสามัญประจำบ้านและยาในบัญชียาหลัก มีตำรับยาที่กานพลู ได้แก่ ยาธรณีสันฑะฆาต ยาธาตุบรรจบ ยาบำรุงโลหิต ยาประสะกานพลู ยาประสะเจตพังคี ยาประสะเปราะใหญ่ ยามหาจักรใหญ่ ยามันธาตุ ยาวิสัมพยาใหญ่  ยาแสงหมึก ยาหอมเทพจิตร ยาหอมนวโกฐ ยาหอมอินทจักร์
    
          ในตำรับยาประสะกานพลู มีการใช้กานพลูหนักที่สุด ในข้อบ่งใช้ระบุว่า แก้ปวดท้องเนื่องจากธาตุไม่ปกติ มีการติดเชื้อ ท้องเสียมาก หรือใช้แก้อาการท้องอืดเฟ้อจากธาตุไม่ปกติและอุจจาระเป็นฟอง
    
ในการใช้ยากลางบ้านทั่วไป มักใช้แก้ท้องอืดเฟ้อ และปวดฟัน 
    
     ดอกแห้งของกานพลูรักษาอาการท้องอืดเฟ้อ แน่น จุกเสียด โดยใช้ดอกแห้ง 5-8 ดอก ต้มน้ำดื่ม หรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม นอกจากนี้ดอกกานพลูยังช่วยป้องกันไม่ให้เด็กอ่อนท้องอืดเฟ้อได้ โดยใช้ดอกแห้ง 1 ดอก แช่ไว้ในกระติกน้ำร้อนที่ใช้ชงนมให้เด็กอ่อน
    
    รักษาอาการปวดฟัน 

    กลั่นเอาน้ำมันใส่ฟัน หรือใช้ทั้งดอกเคี้ยวแล้วอมไว้ตรงบริเวณฟันที่ปวด เพื่อระงับอาการปวดฟัน 

    กานพลูตำพอแหลก ผสมกับเหล้าขาวเพียงเล็กน้อยพอแฉะ ใช้สำลีจิ้มอุดฟันที่ปวดและใช้แก้โรครำมะนาด
  
    เอาดอกกานพลูแช่เหล้า เอาสำลีชุบใช้หยอดฟัน 

แหล่งที่มา:http://health.kapook.com/view105795.html

ประโยชน์ของส่วนประกอบยาดมสมุนไพรไทย

       กระวาน เป็นหนึ่งในสมุนไพรที่มีคุณค่าทางอาหารสูง อุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น แคลเซียม ฟอสฟอรัส หรือธาตุเหล็ก ซึ่งตามที่กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รายงานไว้ ลูกกระวาน 100 กรัม มีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้

           พลังงาน 254 กิโลแคลอรี
           โปรตีน 9.5 กรัม
           ไขมัน 6.3 กรัม
           คาร์โบไฮเดรต 39.7 กรัม
           แคลเซียม 16 กรัม
           ฟอสฟอรัส 23 มิลลิกรัม
           ธาตุเหล็ก 12.6 มิลลิกรัม

          นอกจากนี้ลูกและเมล็ดของต้นกระวานก็ยังมีกลิ่นคล้ายการบูร รวมทั้งรสชาติก็ยังเผ็ดร้อน จึงนิยมนำมาทำเป็นอาหารมากมายเช่น แกงเผ็ด แกงมัสมั่น หรือใช้แต่งกลิ่น แต่งสีของเหล้า ขนมปัง เค้ก คุกกี้ แฮม และอื่น ๆ  

กระวาน สรรพคุณทางยาแน่นเอี้ยด เต็มเปี่ยมด้วยคุณค่า

          ตั้งแต่รากจนถึงปลายยอดของต้นกระวาน สามารถนำมาใช้ในการรักษาอาการป่วยต่าง ๆ ได้แทบจะทุกส่วนเลยล่ะค่ะ ซึ่งสรรพคุณที่เด็ด ๆ ของกระวานมีดังนี้ค่ะ

          http://wm.thaibuffer.com/o/image/icon/48be2683.gif ราก - นำมาต้มดื่มจะช่วยในการฟอกเลือด ขับลม รักษาโรครำมะนาด และละลายเสมหะ

          http://wm.thaibuffer.com/o/image/icon/48be2683.gif หัวและหน่อ - ใช้ในการขับพยาธิในเนื้อให้ออกมา นอกจากนี้ยังสามารถรับประทานคู่กับน้ำพริกได้อีกด้วย

          http://wm.thaibuffer.com/o/image/icon/48be2683.gif เปลือก - แก้ไข้ แก้อาการผอมและตัวเหลือง รักษาโรคผิวหนังบางชนิด ขับเสมหะ บำรุงธาตุ 

          http://wm.thaibuffer.com/o/image/icon/48be2683.gif แก่น - รักษาอาการโลหิตเป็นพิษ
   
          http://wm.thaibuffer.com/o/image/icon/48be2683.gif ใบ - ขับลม แก้อาการจุกเสียดแน่นอนท้อง ท้องเฟ้อ บำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย และรักษาอาการโรครำมะนาด

          http://wm.thaibuffer.com/o/image/icon/48be2683.gif กระพี้ - รักษาโรคผิวหนังบางชนิด และบำรุงโลหิต

          http://wm.thaibuffer.com/o/image/icon/48be2683.gif ลูกกระวาน - ผลแก้ของกระวานมีฤทธิ์ช่วยขับลม และช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยขับเลือดเสีย บำรุงธาตุ ช่วยให้เจริญอาหาร รักษาโรครำมะนาด แก้อาการจุกเสียดแน่นอนท้อง แก้ท้องเฟ้อ 

          http://wm.thaibuffer.com/o/image/icon/48be2683.gif เมล็ด - แก้อาการอาหารไม่ย่อย แก้อาการท้องผูก บำรุงธาตุ


                     รูปภาพที่ 1 ลูกกระวาน

แหล่งที่มา:

http://health.kapook.com/view128409.html


วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ประเภทของสมุนไพร

ประเภทของสมุนไพร
พืชสมุนไพรโดยทั่วไปนั้น แบ่งออกเป็น 5 ส่วนสำคัญด้วยกัน คือ
1. ราก
2. ลำต้น
3. ใบ
4. ดอก
5. ผล
” พืชสมุนไพร” เหล่านี้มีลักษณะลำต้น ยอด ใบ ดอก ที่แตกต่างกันไปตามสายพันธุ์แต่ส่วนต่างๆ ก็ทำหน้าที่เช่นเดียวกัน เช่น รากก็ทำหน้าที่ ดูดอาหารมาเลี้ยงลำต้นกิ่งก้านต่างๆและใบกับส่วนต่างๆนั่นเองใบก็ทำหน้าที่ ปรุงอาหาร ดูดออกซิเจน คายคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ดอก ผล เมล็ด ก็ทำหน้าที่สืบพันธุ์กันต่อไป เพื่อทำให้พืชพันธุ์นี้แพร่กระจายออกไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด
1. ราก
รากของพืชมีมากมายหลายชนิดเอามาเป็นยาสมุนไพรได้อย่างดี เช่น กระชาย ขมิ้นชัน ขิง ข่า เร่ว ขมิ้นอ้อย เป็นต้น รูปร่างและลักษณะของราก แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
  • รากแก้ว ต้นพืชมากมายหลายชนิดมีรากแก้วอยู่ นับว่าเป็นรากที่สำคัญมากงอกออกจากลำต้นส่วนปลาย รูปร่างยาวใหญ่เป็นรูปกรวย ด้านข้างของรากแก้ว จะแตกแยกออกเป็นรากเล็ก รากน้อยและรากฝอยออกมาเป็นจำนวนมาก เพื่อทำการดูดซึมอาหาร ในดินไปบำรุงเลี้ยงส่วนต่างๆของต้นพืช ที่มีรากแก้วได้แก่ ต้นขี้เหล็ก ต้นคูน เป็นต้น
  • รากฝอย รากฝอยเป็นส่วนที่งอกมาจากลำต้นของพืชที่ส่วนปลายงอกออกมาเป็นรากฝอยจำนวน มากลักษณะรากจะกลมยาว มีขนาดเท่าๆกัน ต้นพืชที่มีใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีรากฝอย เช่น หญ้าคา ตะไคร้ เป็นต้น
2. ลำต้น
นับว่าเป็นโครงสร้างที่สำคัญของต้นพืชทั้งหงายที่มีอยู่สามารถค้ำยันเอาไว้ ได้ไม่ให้โค่นล้มลง โดยปกติแล้วลำต้นจะอยู่บนดิน แต่บางส่วนจะอยู่ใต้ดินพอสมควรรูปร่างของลำต้นนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ ตา ข้อ ปล้อง บริเวณเหล่านี้จะมีกิ่งก้าน ใบ ดอกเกิดขึ้นอีกด้วยซึ่งจะทำให้พืชมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปชนิดของลำต้น พืช แบ่งตามลักษณะภายนอกของลำต้นได้เป็น
1. ประเภทไม้ยืนต้น
2. ประเภทไม้พุ่ม
3. ประเภทหญ้า
4. ประเภทไม้เลื้อย
3. ใบ
ใบเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของต้นพืชทั่วไป มีหน้าที่ทำการสังเคราะห์แสง ผลิตอาหารและเป็นส่วนที่แลกเปลี่ยนน้ำและอากาศให้ต้นพืช ใบเกิดจากการงอกของกิ่งและตาใบไม้โดยทั่วไปจะมีสีเขียว ( สีเขียวเกิดจากสารที่มีชื่อว่า”คอลโรฟิลล์”อยู่ในใบของพืช) ใบของพืชหลายชนิดใช้เป็นยาสมุนไพรได้ดีมาก รูปร่างและลักษณะของใบนั้นใบที่สมบูรณ์มีส่วนประกอบรวม 3 ส่วนด้วยกันคือ
1. ตัวใบ
2. ก้านใบ
3. หูใบ
ชนิดของใบ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
  • ชนิดใบเลี้ยงเดี่ยว หมายถึง เป็นใบที่บนก้านใบหนึ่งมีใบเพียงใบเดียว เช่น กานพลู ขลู่ ยอ กระวาน
  • ชนิดใบประกอบ หมายถึง ตั้งแต่ 2 ใบขึ้นไปที่เกิดขึ้นก้านใบอันเดียว เช่น มะขามแขก แคบ้าน ขี้เหล็ก มะขาม เป็นต้น
4. ดอก
ส่วนของดอกเป็นส่วนที่สำคัญของพืชเพื่อเป็นการแพร่พันธุ์ของพืช เป็นลักษณะเด่นพิเศษของต้นไม้แต่ละชนิด ส่วนประกอบของดอก มีความแตกต่างกันตามชนิดของพันธุ์ไม้และลักษณะที่แตกต่างกันนี้ เป็นข้อมูลสำคัญในการจำแนกประเภทของต้นไม้รูปร่างลักษณะของดอก ดอกจะต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญ 5 ส่วนคือ
1. ก้านดอก
2. กลีบรอง
3. กลีบดอก
4. เกสรตัวผู้
5. เกสรตัวเมีย
5. ผล
ผลคือส่วนหนึ่งของพืชที่เกิดจากการผสมเกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียในดอกเดียว กันหรือคนละดอกก็ได้ มีลักษณะรูปร่างที่แตกต่างกัน ออกไป ตามประเภทและสายพันธุ์รูปร่างลักษณะของผลมีหลายอย่าง ตามชนิดของต้นไม้ที่แตกต่างกัน แบ่งตามลักษณะของการเกิดได้รวม 3 แบบ
1. ผลเดี่ยว หมายถึง ผลที่เกิดจากรังไข่อันเดียวกัน ผลเดี่ยวแบ่งออกได้เป็น ผลสด ได้แก่ มะม่วง ฝรั่ง ฟัก ผลแห้งชนิดแตกได้ เช่น ฝักถั่ว ผลรัก และผลเดี่ยวชนิดแห้งไม่แตก เช่น เมล็ดข้าว เมล็ดทานตะวัน
2. ผลกลุ่ม หมายถึง ผลที่เกิดจากปลายช่อของรังไข่ในดอกเดียวกัน เช่น น้อยหน่า กระดังงา สตรอเบอรี่ เป็นต้น
3. ผลรวม หมายถึง ผลที่เกิดมาจากดอกหลายดอก เช่น สับปะรด ขนุน มีการแบ่งผลออกเป็น 3 ลักษณะคือ
3.1 ผลเนื้อ
3.2 ผลแห้งชนิดแตก
3.3 ผลแห้งชนิดไม่แตก

ประวัติของการใช้สมุนไพร

ประวัติของการใช้สมุนไพร
 สมุนไพร คือ ของขวัญที่ธรรมชาติมอบให้กับมวลมนุษยชาติ มนุษย์เรารู้จักใช้สมุนไพรในด้านการบำบัดรักษาโรค นับแต่ยุคนีแอนเดอร์ทัลในประเทศอิรัก ปัจจุบันที่หลุมฝังศพพบว่ามีการใช้สมุนไพรหลายพันปีมาแล้วที่ชาวอินเดียแดง ในเม็กซิโก ใช้ต้นตะบองเพชร( Peyate) เป็นยาฆ่าเชื้อและรักษาบาดแผลปัจจุบันพบว่าตะบองเพชรมีฤทธิ์กล่อมประสาท
ประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว ที่ชาวสุเมเรียนได้เข้ามาตั้งรกราก ณ บริเวณแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติสปัจจุบัน คือ ประเทศอิรัก ใช้สมุนไพร เช่น ฝิ่น ชะเอม ไทม์ และมัสตาร์ด และต่อมาชาวบาบิโลเนียน ใช้สมุนไพรเพิ่มเติมจากชาวสุเมเรียน ได้แก่ใบมะขามแขก หญ้าฝรั่น ลูกผักชี อบเชย และกระเทียม
ในยุคต่อมาอียิปต์โบราณมี อิมโฮเทป แพทย์ผู้มีชื่อเสียงซึ่งต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้าแห่งการรักษาโรค ของอียิปต์ มีตำราสมุนไพรที่เก่าแก่ คือ Papytus Ebers ซึ่งเขียนเมื่อ 1,600 ปี ก่อนคริสตศักราช ซึ่งค้นพบโดยนักอียิปต์วิทยาชาวเยอรมันนี ชื่อ Georg Ebers ในตำรานี้ได้กล่าวถึงตำราสมุนไพรมากกว่า 800 ตำรับ และสมุนไพรมากกว่า 700 ชนิด เช่น ว่านหางจระเข้ เวอร์มวูด( warmwood) เปปเปอร์มินต์ เฮนเบน( henbane) มดยอบ , hemp dagbane ละหุ่ง mandrake เป็นต้น รูปแบบในการเตรียมยาในสมัยนั้น ได้แก่ การต้ม การชง ทำเป็นผง กลั่นเป็นเม็ดทำเป็นยาพอกเป็นขี้ผึ้ง
นอกจากนี้ยังพบว่า ชาติต่างๆ ในแถบยุโรปและแอฟริกา มีหลักฐานการใช้สมุนไพร ตามลำดับก่อนหลังของการเริ่มใช้สมุนไพร คือ หลังจากสมุนไพรได้เจริญรุ่งเรืองในอียิปต์แล้ว ก็ได้มีการสืบทอดกันมา เช่น กรีก โรมัน อาหรับ อิรัก เยอรมัน โปรตุเกส สวีเดน และโปแลนด์
ส่วนในแถบเอเซีย ตามบันทึกประวัติศาสตร์พบว่ามีการใช้สมุนไพรที่อินเดียก่อน แล้วสืบทอดมาที่จีน มะละกา และประเทศไทย
ประวัติการใช้สมุนไพรในประเทศไทย
 ประเทศไทยมีภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญงอกงามของพืช นานาชนิด โดยเฉพาะพืชสมุนไพรมีอยู่มากมายเป็นแสนๆ ชนิด ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและจากการเพาะปลูก บางชนิดก็ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยาแผนปัจจุบัน สมุนไพรหลายชนิด ถูกนำมาใช้ในรูปของยากลางบ้าน ยาแผนโบราณ รากฐานของวิชาสมุนไพรไทยได้รับอิทธิพลจากประเทศอินเดียเป็นส่วนใหญ่ เพราะตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชาติไทยได้อพยพถิ่นฐานมาจากบริเวณเทือกเขา อัลไตน์ประเทศจีน มาจนถึงประเทศไทยในปัจจุบัน จึงมีส่วนได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา ตลอดจนการบำบัดรักษาโรคจากประเทศอินเดียเป็นจำนวนมาก ซึ่งปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าได้อาศัยคัมภีร์อายุรเวทของอินเดียเป็นบรรทัดฐาน คือ การวินิจฉัยโรค ชื่อสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคมีเค้าชื่อของภาษาบาลีสันสกฤตอยู่ไม่น้อย เช่นคำว่า มะลิ (ภาษาสันสกฤตว่า มัลลิ) เป็นต้น
 มีผู้ประมาณว่าในแต่ละปีมีผู้ใช้สมุนไพรในประเทศเป็น มูลค่ากว่า 500 ล้านบาท (สมุนไพรเหล่านี้ได้มาจากทั้งในประเทศ และนำเข้าจากนอกประเทศโดยเฉพาะ จีน เกาหลี และอินเดีย) ทั้งนี้เนื่องจากป่าไม้ถูกทำลาย ทำให้ต้องมีการรณรงค์ให้มีการปลูกเป็นสวนสมุนไพรขึ้น ในปีพุทธศักราช 1800 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งนับเป็นยุคทองของสมุนไพรไทย สวนป่าสมุนไพรของพระองค์ใหญ่โตมากอยู่บนยอดเขาคีรีมาศ อ.คีรีมาส จ.สุโขทัย มีเนื้อที่หลายร้อยไร่ ซึ่งปัจจุบันยังคงได้รับการอนุรักษ์ไว้ เป็นป่าสงวนเพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าของผู้ที่สนใจ ต่อมาในรัชกาลของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเห็นว่าสมุนไพรเป็นทั้งยาและอาหารประจำครอบครัว ชาติจะเจริญมั่นคงได้ก็ด้วยครอบครัวเล็กๆ ที่มีความมั่นคงแข็งแรง มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ทั้งทางกายและจิตใจ จึงทรงมีพระกรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินโครงการตามพระราชดำริ สวนสมุนไพรขึ้นในประเทศในปีพุทธศักราช 2522 โดยทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการรวบรวมศึกษาค้นคว้า ในเรื่องเกี่ยวกับสมุนไพรทุกด้าน เช่น ด้านวิชาการทางชีววิทยา ทางการแพทย์ การบำบัด การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะพืชที่เป็นประโยชน์ก่อให้เกิดโครงการพระราช ดำริ สวนป่าสมุนไพรขึ้นมากมายหลายแหล่ง อีกทั้งยังมีการศึกษาวิจัยอย่างกว้างขวางโดยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี เพื่อหาสาระสำคัญของสมุนไพรที่มีพิษ ทางเภสัชมาสกัดเป็นยาแทนยาสังเคราะห์ที่ใช้กันในปัจจุบัน
คนไทยไม่เพียงแต่ใช้พืชสมุนไพร เป็นยารักษาโรคเท่านั้น แต่ได้นำมาดัดแปลงเพื่อบริโภคในรูปของอาหารและเครื่องดื่มสมุนไพร
ยาสมุนไพร
 นั้นมีมานานแล้วตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีการกล่าวขาน บันทึกเรื่องราว และใช้สืบ ทอดกันมา สมุนไพรเป็น ยารักษาโรคที่ได้ตาม ธรรมชาติหาได้ง่าย ใช้รักษาได้ผลดี มีพิษน้อย และสมุนไพรหลายชนิด เราก็ใช้เป็นอาหารประจำวัน อยู่แล้ว เช่น ขิง ข่า กระเทียม ตะไคร้ กระเพรา เป็นต้น ชีวิตประจำวันเราผูกพันกับสมุนไพรทั้งในรูปของอาหารและเป็น ยารักษาโรค พืชแต่ละชนิด จะมีคุณสมบัติ หรือสรรพคุณในการรักษาแตกต่างกันตามส่วนต่าง ๆ ของพืช ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้ว ยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า ” เภสัชวัตถุ” พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น เร่ว กระวาน กานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น เป็นพืชที่มีกลิ่นหอมและมีรสเผ็ดร้อน ใช้เป็นยาสำหรับขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ พืชเหล่านี้ถ้านำมาปรุงอาหารเราจะเรียกว่า “เครื่องเทศ”

ประวัติสมุนไพรไทย

 คำว่า สมุนไพร ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง พืชที่ใช้ ทำเป็นเครื่องยา สมุนไพรกำเนิดมาจาก ธรรมชาติและมีความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะ ในทางสุขภาพ อันหมายถึงทั้งการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค ความหมายของยาสมุนไพรในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ได้ระบุว่า ยาสมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้จากพฤกษาชาติ สัตว์หรือแร่ธาตุ ซึ่งมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพ เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของราก ลำต้น ใบ ดอก ผล ฯลฯ ซึ่งมิได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใด ๆ แต่ในทางการค้า สมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรืออัดเป็นแท่ง แต่ในความรู้สึกของคนทั่วไป เมื่อกล่าวถึงสมุนไพร มักนึกถึง เฉพาะต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นยาเท่านั้น
 สมุนไพร เป็นยาพื้นบ้านแผนโบราณของไทยมาแต่อดีต ความนิยมในการใช้สมุนไพรได้ลดถอยลงไปบ้าง เมื่อเทคโนโลยีทางการแพทย์ และเภสัชศาสตร์สมัยใหม่จากตะวันตกเข้ามามีอิทธิพล แต่อย่างไรก็ดีในปัจจุบันสมุนไพร กลับมาได้รับความนิยมกันมาก ในเมืองไทย และโลกตะวันตก ต่างประเทศกำลังหาทางเข้ามาลงทุนและคัดเลือกสมุนไพรนำไปใช้สกัดหาตัวยาเพื่อ รักษาโรคบางชนิด มีหลายประเทศนำสมุนไพรไปปลูกและทำการค้าขายแข่งกับประเทศไทย
 สมุนไพร เป็นพืชอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีการปลูกใช้ประโยชน์มานานแล้ว เพราะบางชนิดสามารถนำมารับประทานเป็นอาหาร ให้คุณค่าทางอาหารและยังให้รสชาติที่ทำให้เจริญอาหาร สมุนไพรหลายชนิดยังมีสรรพคุณเป็นยารักษาโรค ช่วยย่อย อาหาร แก้อาการท้องอึด ท้องเฟ้อ ในอดีตการปลูกสมุนไพรมักกระทำกันในลักษณะการปลูกผักสวนครัว ริมรั้ว หลังบ้าน ตามที่ว่างเปล่า จะใช้ประโยชน์เมื่อใดก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ทันที แต่ในระยะหลังเนื่องจากมีประชากรมากขึ้น และ ส่วนหนึ่งได้เข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ ที่มักมีพื้นที่บ้านเรือนจำกัด ไม่มีพื้นที่ว่างเพียงพอกับการปลูกผักสวนครัวต่าง ๆ พืชผักเพื่อการบริโภคทุกอย่างต้องได้จากการซื้อหา เมื่อมีความต้องการซื้อ จึงมีผู้หันมาปลูกผักสมุนไพรขายกันมากขึ้น นอกจากนี้สมุนไพรบางอย่างที่มีสรรพคุณเป็นยา สามารถนำมาสกัดเอาสารที่มีอยู่ภายในมาใช้ทำยาสมุนไพร หรือนำไป เป็นส่วนประกอบของของใช้เพื่อการอุปโภคในชีวิตประจำวัน เช่น สบู่ ยาสีฟัน แชมพูสระผม ครีมนวดผม ครีมบำรุงผิว น้ำหอม ยาดม น้ำมันหอมระเหย ฯลฯ ด้วยประโยชน์ของสมุนไพรมีมากมายดังที่กล่าวมาแล้ว ความต้องการใช้สมุนไพร จึงมีมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะในระยะหลังที่คนเริ่มตื่นตัวในเรื่องพิษภัยอันตรายจากสารเคมี และหันมาให้ความสนใจ ต่อสารที่สกัดจากธรรมชาติกันมากขึ้น ยิ่งทำให้ความต้องการใช้สมุนไพรยิ่งมีมากขึ้นตามลำดับ การปลูกสมุนไพรขาย จึงเป็นอีกอาชีพหนึ่งซึ่งมีอนาคตที่ดี ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของการปลูกสมุนไพร ก็คือมักจะไม่ค่อยมีโรค-แมลงรบกวน จึงใช้ สารเคมีเพียงเล็กน้อยหรือแทบไม่ต้องใช้เลย ทำให้ประหยัดต้นทุนในส่วนนี้ลงได้