วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

พิมเสน

พิมเสน

ชื่อเครื่องยา

พิมเสน

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

พิมเสนเกล็ด พิมเสนตรังกานู พรมเสน

ได้จาก

สารสกัดจากเนื้อไม้, ใบ

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

พืชสกุล Dryobalanops

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Dryobalanops aromatica Gaertn. (วงศ์ Dipterocarpaceae), หนาดหลวง Blumea balsamifera DC. (วงศ์ Compositae)

ชื่อพ้อง

ชื่อวงศ์

Dipterocarpaceae, Compositae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           พิมเสนเป็นเกล็ดเล็กๆ สีขาวขุ่น เนื้อแน่นกว่าการบูร ระเหิดได้ช้ากว่าการบูร ติดไฟให้แสงจ้าและมีควันมาก ไม่มีขี้เถ้า พิมเสนบริสุทธิ์จะเป็นผลึกรูปแผ่นหกเหลี่ยม มีจุดหลอมเหลว 208 องศาเซลเซียส ละลายได้ยากในน้ำ ละลายได้ดีในตัวทำละลายชนิดขั้วต่ำ พิมเสนมีกลิ่นหอมเย็น ฉุน รสหอม เย็นปากคอ สมัยก่อนใส่ในหมากพลูเคี้ยว
 

เครื่องยา พิมเสน

 

เครื่องยา พิมเสน

 

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล
 
สรรพคุณ:
           ตำรายาแผนโบราณ: ใช้พิมเสนเป็นยาขับเหงื่อ ขับเสมหะ กระตุ้นการหายใจ กระตุ้นสมอง บำรุงหัวใจ ใช้เป็นยาระงับความกระวนกระวาย ทำให้ง่วงซึม แก้ลมวิงเวียน หน้ามืด หัวใจอ่อน บำรุงหัวใจ ทำให้ชุ่มชื่น ทำให้เรอ ขับผายลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง แก้บาดแผลสด แผลเรื้อรัง แผลกามโรค แผลเนื้อร้าย ผสมในตำรับยาหอม เช่น ยาหอมเทพจิตร ยาหอมนวโกฐ มีสรรพคุณโดยรวมคือแก้ลมวิงเวียน หน้ามืดตาลาย
           การกลั่นใบและยอดอ่อนของหนาดด้วยไอน้ำ จะได้พิมเสนตกผลึกออกมา นำมาทำเป็นยากิน แก้ปวดท้อง ท้องร่วง หรือใช้ขับลม ใช้ภายนอกเป็นผงใส่บาดแผล แก้แผลอักเสบ แก้กลากเกลื้อน และแผลฟกช้ำ
           ตำราพระโอสถพระนารายณ์: ระบุ “ตำรับยาทรงนัตถุ์”  เข้าเครื่องยา 17 สิ่ง ใช้ปริมาณเท่าๆกัน รวมทั้ง พิมเสนด้วย ผสมกัน บดเป็นผงละเอียด ใช้นัตถุ์แก้ลมทั้งหลาย ตลอดจนโรคที่เกิดในศีรษะ ตา และจมูก อีกขนานหนึ่งเข้าเครื่องยา 15 สิ่ง รวมทั้งพิมเสนด้วย บดเป็นผงละเอียด ห่อผ้าบาง ทำเป็นยาดม แก้ปวดหัว วิงเวียน แก้สลบ แก้ริดสีดวงจมูก คอ และตา นอกจากนี้พิมเสนยังใช้เป็นส่วนผสมใน “ตำรับยาสีผึ้งบี้พระเส้น” ใช้ถูนวดเส้นที่แข็งให้หย่อนได้ และในตำรับ “สีผึ้งขาวแก้พิษแสบร้อนให้เย็น

แหล่งที่มา:

http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=93

เมนทอล


-เมนทอล - เป็นสารสกัดจากน้ำมันสะระแหน่ (peppermint oil) ซึ่งได้มาจากพืช Mentha piperita ใช้เป็นยาภายนอกเกี่ยวกับการลดอาการปวดเมื่อย ฆ่าเชื้อ และใช้เป็นยาขับลม 

พิมเสน ไม่ใช่ การบูรู
พิมเสน เป็นชื่อของต้นพืช มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pogostemon calslin (Blanco) Benth. ในวงศ์ Labiatae 

ส่วนประกอบทั่วๆไป

การบูร

ชื่อเครื่องยา

การบูร

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

การกลั่นลำต้น ราก หรือใบของการบูร

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

การบูร

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

อบเชยญวน พรมเส็ง

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cinnamomum camphora (L.) Presl.

ชื่อพ้อง

Camphora officinarum Nees, Laurus camphora L.

ชื่อวงศ์

Lauraceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           เป็นผลึกที่แทรกอยู่ในเนื้อไม้ของต้นการบูร ที่เกิดอยู่ทั่วไปทั้งต้น  มักจะอยู่ตามรอยแตกของเนื้อไม้  มีมากที่สุดในแก่นของรากรองลงมาที่แก่นของต้น  ส่วนที่อยู่ใกล้โคนต้นจะมีการบูรมากกว่าส่วนที่อยู่สูงขึ้นมา  ในใบและยอดอ่อนมีการบูรอยู่น้อย  ในใบอ่อนจะมีน้อยกว่าใบแก่ ผงการบูรเป็นเกล็ดกลมเล็ก  ๆ  สีขาวแห้ง  อาจจับกันเป็นก้อนร่วน ๆ  แตกง่าย  ทิ้งไว้ในอากาศ  จะระเหิดไปหมด มีรสร้อนปร่าเมา

เครื่องยา การบูร

 

เครื่องยา การบูร

 

เครื่องยา การบูร

 

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล

สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: “การบูร”  มีรสร้อนปร่าเมา ใช้ทาถูนวดแก้ปวด แก้เคล็ดบวม ขัดยอก แพลง แก้กระตุก แก้ปวดข้อ แก้ปวดเส้นประสาท แก้รอยผิวหนังแตก แก้พิษแมลงต่อย และโรคผิวหนังเรื้อรัง เป็นยาระงับเชื้ออย่างอ่อน ขับเหงื่อ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้ไข้หวัด และขับลม บำรุงธาตุ บำรุงกำหนัด ยากระตุ้นหัวใจ บำรุงหัวใจ ใช้เป็นส่วนผสมในยาหอมต่างๆ เช่น ยาหอมเทพจิตร เป็นยาชาเฉพาะที่ เป็นยาระงับประสาท แก้อาการชักบางประเภท ใช้การบูร 1-2 เกรน แก้ปวดขัดตามเส้นประสาท ข้อบวมเป็นพิษ แก้เคล็ดบวม เส้นสะดุ้ง กระตุก ขัดยอกแพลง แก้ปวดท้อง ท้องร่วง ขับน้ำเหลือง แก้เลือดลม บำรุงกำหนัด ขับเหงื่อ ขับเสมะหะ บำรุงธาตุ แก้โรคตา กระจายลม ขับผายลม นำมาผสมเป็นขี้ผึ้ง เป็นยาร้อน ใช้ทาแก้เพื่อถอนพิษอักเสบเรื้อรัง ปวดยอกตามกล้ามเนื้อ สะบักจม ทรวงอก ปวดร้าวตามเส้นเอ็น โรคปวดผิวหนัง รอยผิวแตกในช่วงฤดูหนาว แก้พิษสัตว์กัดต่อย วางในห้องหรือตู้เสื้อผ้าไล่ยุงและแมลง

แหล่งที่มา:

http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=19

โกฐหัวบัว

โกฐหัวบัว

ชื่อเครื่องยา

โกฐหัวบัว

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

เหง้าแห้ง

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

โกฐหัวบัว

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Ligusticum sinense Oliv. cv.Chuanxiong Hort

ชื่อพ้อง

Ligusticum chuanxiong Hort, Ligusticum wallichii auct.non Franch.

ชื่อวงศ์

Umbelliferae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           เหง้าหนา ค่อนข้างกลม ข้อป่อง ปล้องสั้น ตัดเอารากแขนงออกหมด จะได้เหง้ารูปคล้ายกำปั้น ผิวตะปุ่มตะป่ำไม่สม่ำเสมอ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-7 เซนติเมตร ผิวนอกสีน้ำตาลอมเหลือง สาก เหี่ยวย่น เนื้อแน่น หักยาก รอยหักสีขาวอมเหลืองหรือสีเหลืองอมเทา มีท่อน้ำมันสีน้ำตาลอมเหลืองกระจายอยู่ทั่วไป มีกลิ่นหอมรุนแรง ฉุน รสขม มัน แต่จะหวานภายหลัง และชาเล็กน้อย
 

เครื่องยา โกฐหัวบัว

 

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ปริมาณความชื้นไม่เกิน 10% w/w  ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 15% w/w  ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกิน 10% w/w  ปริมาณสารสกัดเอทานอล ไม่น้อยกว่า 9% w/w  

สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: เหง้า แก้ลมในกองริดสีดวง กระจายลมทั้งปวง (หมายถึงลมที่คั่งอยู่ในลำไส้เป็นตอนๆทำให้ผายออกมา) ขับลม แก้ปวดศีรษะ ปวดข้อ ปวดกระดูก จีนใช้โกฐหัวบัวเป็นยาแก้หวัด แก้ปวดศีรษะ  แก้โรคโลหิตจาง แก้ปวดประจำเดือน แก้ประจำเดือนมาไม่ปรกติ ปวดเจ็บต่างๆรวมทั้งปวดฟัน อาเจียนเป็นเลือด ไอ วัณโรค โรคเข้าข้อ ตกเลือด
           นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5)    ปรากฏการใช้โกฐหัวบัวในยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ”ยาหอมเทพจิตร” และตำรับ ”ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของโกฐหัวบัวอยู่ในพิกัดโกฐทั้ง 9 ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง
           โกฐหัวบัวเป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในตำรับยาแผนโบราณของไทยหลายตำรับ พืชชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดแถบมนฑลเสฉวนของประเทศจีน และได้มีการนำมาใช้ในเครื่องยาไทย ที่เรียกว่า “พิกัดโกฐ” โกฐหัวบัวจัดอยู่ใน โกฐทั้งห้า(เบญจโกฐ)สรรพคุณโดยรวม ของยาที่ใช้ในพิกัดโกฐ คือ แก้ไข้ แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ แก้หืดไอ แก้หอบ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง ขับลม แก้สะอึก บำรุงเลือด บำรุงกระดูก
           เครื่องยา“พิกัดโกฐ” ประกอบด้วย “พิกัดโกฐทั้ง 5” ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลำพา มีสรรพคุณแก้ไข้เพื่อเสมหะ หืดไอ แก้โรคปอด โรคในปากคอ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต “พิกัดโกฐทั้ง 7” (มีโกฐกระดูก และโกฐก้านพร้าว เพิ่มเข้ามา) สรรพคุณ แก้ไข้จับสั่น แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคในปอด แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบ แก้สะอึก “พิกัดโกฐทั้ง 9”  (มีโกฐพุงปลา และโกฐชฎามังษี เพิ่มเข้ามา) สรรพคุณแก้ไข้จับ แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืดไอ แก้โรคปอด แก้โรคในปากคอ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง บำรุงโลหิต แก้ไข้เรื้อรัง แก้หอบ แก้สะอึก บำรุงกระดูก แก้ไข้ในกองธาตุอติสาร แก้ไส้ด้วนไส้ลาม ขับระดูร้าย
           ตำรายาไทย: มีการใช้โกฐหัวบัวใน “พิกัดจตุวาตะผล” คือการจำกัดจำนวนตัวยาแก้ลม ประกอบด้วยผล 4 อย่าง คือ เหง้าขิงแห้ง กระลำพัก อบเชยเทศ และโกฐหัวบัว มีสรรพคุณแก้ไข้ แก้พรรดึก แก้ตรีสมุฏฐาน ขับผายลม บำรุงธาตุ แก้ลมกองริดสีดวง
           ตำราพระโอสถพระนารายณ์: ตำรับ “มโหสถธิจันทน์” มีส่วนประกอบรวม 16 สิ่ง รวมทั้งโกฐหัวบัวด้วย มีสรรพคุณแก้ไข้ทุกชนิด ตำรับ “ยาทรงนัตถุ์” ขนานหนึ่งประกอบด้วยสมุนไพร 15 ชนิด รวมทั้งโกฐหัวบัวด้วย โดยนำตัวยาทั้งหมดบดเป็นผงละเอียดรวมกัน ใช้สำหรับนัตถุ์ ใช้ดมแก้ปวดหัว แก้วิงเวียน แก้สลบ แก้ริดสีดวงจมูก คอ และตา

แหล่งที่มา:http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=33

พริกไทยดำ


         ประโยชน์ของพริกไทยดำที่ไม่ได้มีขีดจำกัดอยู่แค่ในห้องครัว วันนี้เราจะนำพริกไทยดำมารักษาสุขภาพกันค่ะ

          พริกไทยดำมีรสจัดจ้านและมีประโยชน์ในตัวเองที่ไม่ได้น้อยหน้าสม­­ุนไพรไทยชนิดอื่น ๆ สักนิด โดยประโยชน์ของพริกไทยดำที่เราคุ้นเคยคงเป็นเรื่องของการช่วยดั­­บกลิ่นคาวของอาหาร ช่วยปรุงรสชาติอาหารให้เผ็ดร้อนมากขึ้น และนั่นก็เป็นประโยชน์ที่ส่งผลมาถึงสุขภาพของเราอยู่แล้วนะคะ ทว่าReader’s digest ยังช่วยไกด์ประโยชน์ของพริกไทยดำที่ใครหลายคนอาจยังไม่เคยรู้เพ­­ิ่มมาอีก 6 ข้อด้วยกันตามนี้

 1. บรรเทาอาการไอมีเสมหะด้วยชาพริกไทยดำ

          การแพทย์ชนบทของอังกฤษและแพทย์แผนจีนใช้ชาพริกไทยดำผสมน้ำผึ้งบ­­รรเทาอาการไอแบบมีเสมหะมาอย่างยาวนานแล้ว เนื่องจากพริกไทยดำมีรสเผ็ดร้อนจึงสามารถละลายเสมหะที่ติดอยู่ใ­­นลำคอให้ทางเดินหายใจสะดวกขึ้นได้ ส่วนน้ำผึ้งก็มีสรรพคุณคล้ายยาปฏิชีวนะจากธรรมชาติ กำจัดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียอย่างหมดจด อาการไอแถมเสมหะของเราจึงเบาบางลงเพียงแค่ดื่มชาพริกไทยดำผสมน้­­ำผึ้งอุ่น ๆ สักแก้ว

 2. ช่วยให้เลิกบุหรี่ได้สำเร็จ

         ผลการศึกษาที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Alternative and Complementary Medicine เมื่อปี 2013 พบว่า น้ำมันสกัดจากพริกไทยดำสามารถลดความอยากสูบบุหรี่ของคนที่ตั้งใ­­จจะเลิกบุหรี่ได้ชะงัด ซึ่งก็อาจจะเป็นเพราะว่ากลิ่นเผ็ดร้อนของพริกไทยดำที่ถูกสูดผ่า­­นหลอดลมจะคล้ายความรู้สึกตอนที่สูบบุหรี่เปี๊ยบเลยเชียว ดังนั้นใครอยากเลิกบุหรี่ก็ลองหาน้ำมันสกัดจากพริกไทยดำมาชุบสำ­­ลีแล้วดมดูสิ

 

 3. บรรเทาอาการคัดจมูก

          พริกไทยดำถือว่าเป็นยาบรรเทาอาการคัดจมูกที่ธรรมชาติส่งมาให้เล­­ยล่ะค่ะ เพราะว่าในพริกไทยดำจะมีสารเคมีตัวหนึ่งซึ่งสามารถทำให้เยื่อหุ­­้มเซลล์ในจมูกระคายเคืองจนต้องไล่น้ำมูกออกมาโดยเร็ว ฉะนั้นจมูกก็จะโล่งมากขึ้น โดยการใช้พริกไทยดำเพื่อบรรเทาอาการคัดจมูกให้ใช้น้ำมันสกัดจาก­­พริกไทยดำ 3 หยด นำไปต้มในน้ำ 1 ถ้วยตวง แล้วผสมน้ำมันยูคาลิปตัสลงไปเล็กน้อย ต้มจนไอร้อนพุ่งตัวออกมาแล้วจึงนำน้ำต้มนั้นมาสูดดมเพื่อบรรเทา­­อาการได้เลย

 4. รักษาอาการเคล็ดขัดยอก

          อาการเคล็ดขัดยอกจากการออกกำลังกายหรืออุบัติเหตุที่ทำให้คุณรู­­้สึกเจ็บปวดบริเวณกล้ามเนื้อ สามารถบรรเทาได้โดยนำน้ำมันสกัดจากพริกไทยดำ 2 หยด ผสมกับน้ำมันสกัดจากโรสแมรี่ ประมาณ 4 หยด เข้าด้วยกัน (คุณสามารถผสมน้ำมันสกัดจากขิงแทนน้ำมันสกัดจากโรสแมรี่ได้นะคะ) แล้วนำมานวดบริเวณที่เคล็ดขัดยอกเบา ๆ ฤทธิ์ร้อนของพริกไทยดำจะซึมเข้าสู่กล้ามเนื้อและช่วยคลายกล้ามเ­­นื้อที่หดเกร็งจนเกิดอาการเคล็ดขัดยอก เรียกว่าใช้ได้ดีไม่แพ้ยาแก้เคล็ดขัดยอกราคาแพง ๆ เลยล่ะ


 

 5. ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยได้

          หากรู้สึกแน่นท้อง อาหารไม่ย่อย หรือเกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำ ลองเติมเมนูพริกไทยดำลงในมื้ออาหารของคุณสิคะ พริกไทยดำจะกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งกรดไฮโดรคลอริก ซึ่งเป็นกรดในช่องท้องที่มีหน้าที่ปรับสมดุลการย่อยของอาหาร ทำให้ท้องไส้ทำงานเป็นปกติมากขึ้น


ดอกจันทร์เทศ

ดอกจันทน์

ชื่อเครื่องยา

ดอกจันทน์

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ดอกจันทน์เทศ จันทน์ปาน

ได้จาก

รกหุ้มเมล็ด

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

จันทน์เทศ (nutmeg)

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

ดอกจันทน์ จันทน์บ้าน

ชื่อวิทยาศาสตร์

Myristica fragrans Houtt.

ชื่อพ้อง

Myristica officinalis L.f.

ชื่อวงศ์

Myristicaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ดอกจันทน์ (mace) คือส่วนเยื่อหุ้มเมล็ด  ลักษณะเป็นริ้วสีแดงจัด ดูเหมือนร่างแห เป็นแผ่นบางมีหลายแฉกหุ้มเมล็ด โดยจะรัดติดแน่นอยู่กับเมล็ด เมื่อนำมาแกะแยกออกจากเมล็ด  รกที่แยกออกมาใหม่ๆจะมีสีแดงสด  เมื่อทำให้แห้งสีของรกจะเปลี่ยนจากสีแดงสดเป็นสีเหลืองอ่อนหรือสีเนื้อ  และเปราะ  ผิวเรียบ  ขนาดความยาว 3-5 เซนติเมตร  ความกว้าง 1-3 เซนติเมตร  ความหนา 0.5-1 เซนติเมตร  มีกลิ่นหอม  รสขม ฝาด เผ็ดร้อน
 

เครื่องยา ดอกจันทน์

 

เครื่องยา ดอกจันทน์ (รกหุ้มเมล็ด) และ ลูกจันทน์ (เมล็ด)

 

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล
 
สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: มีสรรพคุณบำรุงโลหิต  บำรุงธาตุ  ขับลม แก้ปวดมดลูก แก้ท้องร่วง บำรุงกำลัง บำรุงผิวเนื้อให้เจริญ น้ำมันระเหยง่ายใช้เป็นส่วนผสมของขี้ผึ้งที่ใช้ทาระงับความปวด ใช้ขับประจำเดือน  ทำให้แท้ง  ทำให้ประสาทหลอน  ประเทศอินโดนีเซียใช้บำรุงธาตุ  แก้ปวดข้อ  กระดูก
           ตำรับเภสัชกรรมล้านนา: ใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยามะเร็งครุด และยาเจ็บหัว
           ยาพื้นบ้านของขาวตะวันตกและตะวันออก: ใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร แก้คลื่นไส้ บำบัดโรคมะเร็ง
           ตำรายาไทย: ปรากฏการใช้จันทน์เทศใน “พิกัดตรีพิษจักร” คือการจำกัดจำนวนตัวยาที่มีรสซึมซาบไวดังกงจักร มี 3 อย่างคือ ผลจันทน์เทศ ผลผักชีล้อม และกานพลู สรรพคุณแก้ลม แก้พิษเลือด แก้ธาตุพิการ บำรุงโลหิต “พิกัดตรีคันธวาต” คือการจำกัดจำนวนตัวยาที่มีกลิ่นหอมแก้ลม 3 อย่าง มี ผลจันทน์เทศ ผลเร่วใหญ่ และกานพลู สรรพคุณแก้ธาตุพิการ แก้ไข้อันเกิดแต่ดี แก้จุกเสียด
           นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5)    ปรากฏการใช้ดอกจันทน์ ในยารักษาอาการโรคในระบบต่างๆของร่างกาย รวม 3 ตำรับ คือ
                1.ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ปรากฏตำรับ”ยาหอมเทพจิตร” และตำรับ ”ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของดอกจันทน์ ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง
                2. ยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ปรากฏตำรับ “ยาธาตุบรรจบ” มีส่วนประกอบของดอกจันทน์ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณ บรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           1.ขับลม
                ใช้ดอกจันทน์(รก) 4 อัน บดเป็นผงละเอียด ชงน้ำดื่มครั้งเดียว รับประทานวันละ 2 ครั้ง 2-3 วัน ติดต่อกัน แก้อาการท้องอืด เฟ้อ ขับลม
           2.แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ที่เกิดจากธาตุไม่ปกติ
                ใช้ดอกจันทน์(รก) 3-5 อัน ต้มกับน้ำพอประมาณ เคี่ยวให้เหลือ 1 ใน 3 เอาน้ำดื่ม

แหล่งที่มา:

http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=55

กานพลู

กานพลู สมุนไพรที่มีส่วนช่วยฆ่าเชื้อ แก้ปัญหาท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย แถมยังแก้ปวดฟัน ว่าแล้วก็ไปรู้จักสมุนไพรชนิดนี้กันสักหน่อย

          กานพลูเป็นพืชสมุนไพรกลุ่มเครื่องเทศที่มีการบันทึกการใช้ประโยชน์มายาวนานตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณ เป็นหนึ่งในเครื่องยาที่ใช้ทำมัมมี่ เป็นหนึ่งในเครื่องเทศที่ทรงอิทธิพลในยุคของการล่าอาณานิคม คนเอเชียใช้การพลูปรุงยารักษาโรค ชาติตะวันตกยังใช้ในเรื่องการแต่งกลิ่นอาหารและเครื่องสำอางมากมาย

          กานพลู หรือ Clove หรือคนภาคเหนือเรียก จันจี่ วงศ์ MYRTACEAE มีชื่อวิทยาศาสตร์ Eugenia caryophyllus  Bullock&Harrison. เป็นพืชที่ชอบอากาศชื้น เป็นพืชพื้นเมืองของฟิลิปินส์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ส่วนที่ใช้เป็นยาคือดอกตูมที่แก่จัด หมอยาจะเก็บดอกช่วงนี้มาตากแห้งเก็บไว้ใช้ ดอกกานพลูที่จำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไปมักเป็นดอกที่มีการกลั่นเอาน้ำมันหอมระเหยออกไปก่อนแล้ว     

ในบันทึกตำราสรรพคุณสมุนไพรยังกล่าวถึงสรรพคุณส่วนอื่น คือ 

          เถา แก้หืด 

          เปลือกต้น แก้ปวดท้อง แก้ลม  คุมธาตุ

          ใบ แก้สะอึก แก้ปวดมวน ดอก แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย แก้ท้องขึ้น ขับลมในลำไส้ แก้ลม แก้เหน็บชา แก้พิษเลือด น้ำเหลืองและน้ำคาวปลา แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ  ฟอกโลหิต ขับเสมหะ แก้อุจจาระให้ปกติ แก้รัตตะปิตตะโรค แก้หืด กระทำให้อาหารงวด แก้ไอ ระงับกระตุก แก้ปากเหม็น แก้เลือดออกตามไรฟัน ดับกลิ่นเหล้า แก้ปวดฟัน แก้รำมะนาด กระจายลม กระจายเสมหะอันข้น
    
          น้ำมัน ขับลม แก้ท้องขึ้น แก้ปวดท้อง ท้องร่วง แก้ไอ  ฆ่าเชื้อโรค แก้ชาปลายมือปลายเท้า แก้โรคลมระงับปวด  ระงับอาการปวดฟัน ทำให้ผิวหนังชา ระงับกระตุก 
 
          ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แก้ปวดฟัน แก้รำมะนาด แก้ปากเหม็น ดับกลิ่นสุรา แก้เสมหะอันข้น แก้เสมหะอันเกิดในโลหิตและดี แก้รัตตะปิตตะโรค กระทำให้อาหารงวด ช่วยย่อยอาหาร ช่วยให้เจริญอาหาร ลดอาการเกร็งของระบบทางเดินอาหาร แก้ปวดหัว แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ปวดตามข้อรูมาติสม์  แก้ท้องขึ้น อืดเฟ้อ เจริญไฟธาตุ บำรุงธาตุ รักษาดีซ่าน แก้หืด แก้ลม แก้ปวดท้อง แก้เหน็บชา ทำให้อุจจาระเป็นปกติ แก้พิษเลือด แก้พิษน้ำเหลือง ขับน้ำคาวปลา แก้มวนในลำไส้ แก้มวนในลำไส้

      ในตำรับยาไทยมีการใช้กานพลูหลายตำรับ เฉพาะยาสมุนไพรสามัญประจำบ้านและยาในบัญชียาหลัก มีตำรับยาที่กานพลู ได้แก่ ยาธรณีสันฑะฆาต ยาธาตุบรรจบ ยาบำรุงโลหิต ยาประสะกานพลู ยาประสะเจตพังคี ยาประสะเปราะใหญ่ ยามหาจักรใหญ่ ยามันธาตุ ยาวิสัมพยาใหญ่  ยาแสงหมึก ยาหอมเทพจิตร ยาหอมนวโกฐ ยาหอมอินทจักร์
    
          ในตำรับยาประสะกานพลู มีการใช้กานพลูหนักที่สุด ในข้อบ่งใช้ระบุว่า แก้ปวดท้องเนื่องจากธาตุไม่ปกติ มีการติดเชื้อ ท้องเสียมาก หรือใช้แก้อาการท้องอืดเฟ้อจากธาตุไม่ปกติและอุจจาระเป็นฟอง
    
ในการใช้ยากลางบ้านทั่วไป มักใช้แก้ท้องอืดเฟ้อ และปวดฟัน 
    
     ดอกแห้งของกานพลูรักษาอาการท้องอืดเฟ้อ แน่น จุกเสียด โดยใช้ดอกแห้ง 5-8 ดอก ต้มน้ำดื่ม หรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม นอกจากนี้ดอกกานพลูยังช่วยป้องกันไม่ให้เด็กอ่อนท้องอืดเฟ้อได้ โดยใช้ดอกแห้ง 1 ดอก แช่ไว้ในกระติกน้ำร้อนที่ใช้ชงนมให้เด็กอ่อน
    
    รักษาอาการปวดฟัน 

    กลั่นเอาน้ำมันใส่ฟัน หรือใช้ทั้งดอกเคี้ยวแล้วอมไว้ตรงบริเวณฟันที่ปวด เพื่อระงับอาการปวดฟัน 

    กานพลูตำพอแหลก ผสมกับเหล้าขาวเพียงเล็กน้อยพอแฉะ ใช้สำลีจิ้มอุดฟันที่ปวดและใช้แก้โรครำมะนาด
  
    เอาดอกกานพลูแช่เหล้า เอาสำลีชุบใช้หยอดฟัน 

แหล่งที่มา:http://health.kapook.com/view105795.html